
ปกติแล้วในธรรมชาติจะมีระบบนิเวศที่สามารถควบคุมกันเองไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปเพื่อสร้างความสมดุลในระบบสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีจำนวนมากทั้งยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อราและจุลินทรีย์ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะทำลายแมลงและจุลินทรีย์แทบทุกชนิดทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ต่อพืช ทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่มีประโยชน์ต่อพืชทั้งที่ช่วยผสมเกสรพืช จุลินทรีย์ทำหน้าที่ปรุงอาหารให้พืชถูกทำลายลงแต่แมลงศัตรูพืชและเชื้อราโรคพืชกลับพัฒนาตัวเองให้ต้านสารเคมีได้ นอกจากทำให้ผลผลิตลดลงพืชผักถูกทำลายแล้วสารเคมียังตกค้างอยู่ในตัวเกษตรกรเองรวมถึงผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรต้องหันกลับมาสร้างระบบนิเวศใหม่โดยเติมสารชีวภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อพืชและระบบนิเวศเข้าไปในระบบอีกครั้ง
ในที่นี้จะแนะนำวิธีการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนในการผลิต เพื่อสุขภาพของเกษตรกร คนในครอบครัวรวมถึงผู้บริโภคและเพื่อคุณภาพของสารชีวภัณฑ์ที่ดีที่สุดนั้นคือเชื้อสดนั้นเอง
เชื้อราไตรโคเดอร์มา นอกจากจะยับยั้งแล้วยังใช้ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น
เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว)
เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)
เชื้อราไรซอคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราคอลเรโตตริคัม (โรคใบจุด ใบไหม้ ผลเน่า แอนแทรคโนส )
เชื้อราโฟมอพซิส (โรคใบจุด ลำต้นไหม้ )
เชื้อราอัลเทอร์นาเรีย (โรคใบจุด ใบไหม้)
คู่มือการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา
เตรียมอุปกรณ์
1.หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา100 กรัม (บรรจุ1ซอง)
2.น้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลรำผง 500กรัม
3.แป้งข้าวโพด 1000 กรัม
5.อะมิโน โปรตีน 100กรัม
6.น้ำสะอาด 20 ลิตร
7.แอลกอฮอร์
8.หม้อต้มน้ำขนาดมากกว่า 20ลิตร
9.ถ้วยตวงขนาด 2 ลิตร
10.ถังขยายเชื้อ ก้นกว้าง มีฝาปิด ปริมาตรมากกว่า 50 ลิตรและเป็นวัสดุทนความร้อน
ขั้นตอนการขยายเชื้อ
1.ใช้แอลกอฮอร์ฉีดพ่นถังสำหรับขยายเชื้อ(ไม่ต้องผสมน้ำให้เจือจาง)ให้ทั่วบริเวณภายในตัวถังและฝาปิดถังหรือใช้กระดาษทิชชูชุบแอลกอฮอร์แล้วเช็ดให้ทั่วภายในถังและฝาปิด
2.ตวงน้ำสะอาดให้ได้ 18 ลิตร ต้มในภาชนะที่ปิดฝาให้น้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ปนเปื้อนมากับน้ำและภาชนะต้ม(ในกรณีหม้อต้มน้ำมีขนาดเล็กแนะนำให้แบ่งน้ำต้มสามารถทำขนาด10ลิตรได้2ครั้ง)
3.เมื่อต้มน้ำจนเดือนให้เติมน้ำตาลทรายแดง 400กรัมลงไปกวนจนละลายกลายเป็นเป็นน้ำเชื่อม
4.ตวงน้ำ2ลิตรในภาชนะ เปิดซองแป้งข้าวโพดจำนวน 1กิโลกรัม ค่อยๆเทลงไปพร้อมกับกวนไปเรื่อยๆจนละลายเข้ากับน้ำ(ประมาณ 3 นาที)
5.กวนน้ำเชื่อม18ลิตรที่ต้มจนเดือดให้หมุนวนไปในทางเดียวกัน ค่อยๆเทน้ำผสมแป้งข้าวโพดจำนวน2ลิตร ลงไปในภาชนะที่ต้มน้ำพร้อมกวนไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้แป้งข้าวโพดจับตัวเป็นก้อน กวนต่อไปอีก 1นาที จนน้ำแป้งข้าวโพดกลายเป็นวุ้นใสๆไม่มีสีขาวปน จากนั้นยกหม้อต้มลงจากเตา
6.เทน้ำต้มแป้งข้าวโพดลงไปในถังขยายเชื้อ รอเพื่อให้แป้งวุ้นด้านบนเริ่มเย็นตัวอีกครั้ง (ไม่ต้องปิดฝาถัง)ห้ามไม่ให้มีหยดน้ำลงหน้าแป้งวุ้นข้าวโพด ทิ้งไว้มากกว่า7ชั่วโมง
7.ใช้สาหร่ายผงประมาณ1ซ้อนโต๊ะ โรยให้ทั่วบริเวณหน้าแป้งวุ้นที่เย็นตัวแล้ว
8.โรยผง อะมิโนโปรตีน จำนวน1ซอง ขนาด100กรัมให้ทั่วหน้าแป้งวุ้น
9.นำหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาจำนาน 1 ซอง(100กรัม/ซอง)ใช้กรรไกรตัดปากถุงออก ค่อยๆโรยบางๆให้ทั่วปริเวนหน้าแป้งวุ้นใช้มือเกลี่ยให้เชื้อกระจายทั่วหน้าแป้ง
10.โรยน้ำตาลทรายแดงลงไปที่หน้าเชื้อรา จำนวน100กรัม
11.ปิดฝาถังให้สนิทไม่ต้องล็อคให้แน่นพราะขณะขยายเชื้อจะมีแก๊สเกิดขึ้นในถัง วางไว้ในที่ร่มมีอากาศ ร้อน ชื้น ภายใน1วันเปิดฝาถังเพื่อระบายแก๊สจากเชื้อรา 1-2ครั้ง ผ่านไป3วัน จะมีกลิ่นบูดและฟองอากาศเกิดขึ้น กลิ่นบูดนี้จะไม่ใช่กลิ่นบูดเน่าแต่จะเป็นกลิ่นของไตรโคเดอร์มามีเส้นใยเกิดขึ้นที่หน้าแป้งวุ้นเป็นเส้นใยสีขาวใส เมื่อครบ3วันให้ทำการกวนโดยใช้วัสดุกวนที่สะอาด กวนให้ทั่วถึงก้นถัง โดยหมุนไปในทิศทางเดียวกัน (กวนนานจะยิ่งดีขึ้นเป็นการเติมอากาศให้เชื้อ)แป้งวุ้นจะแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ ปิดฝาถัง
12.ทำการกวนให้เชื้อกระจายไปทั่วหรือให้น้ำวุ้นหมุนวนในถัง เป็นการช่วยกระจายเชื้อและเติมอากาศให้กับเชื้อราไตรโคเดอร์มา กวนเชื้อในถังอย่างน้อย 3ครั้ง/วันหรือ4-5ครั้งต่อวัน (กวนบ่อยๆจะทำให้เชื้อเดินและกินแป้งข้าวโพดได้เร็วขึ้น)อุปกรณ์กวนเชื้อควรอยู่ในถังห้ามนำออกมาวางด้านนอก
13.ผ่านไป 7วันก็จะได้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ขยายแล้วพร้อมใช้งานเกษตรกรจะสังเกตได้จากการกวนถังเชื้อแล้วเกิดแก๊สและกลิ่นในถังรวมถึงฟองอากาศที่น้อยลงมากจากช่วง4วันแรก จะมีลักษณะหนืด สีเหลืองขุ่นเหลวใส
14.เก็บเชื้อบรรจุลงถังหรือแกลลอนขนาด20ลิตร ปิดฝาหลอมๆไม่ต้องแน่นสนิท เพราะถังจะบวม
หมายเหตุ:ครบ 7วันได้เชื้อสดฃนิดน้ำ 20ลิตร ราคาประมาณ 15 บาท/ลิตร สามารถผสมน้ำฉีดพ่นได้ 4000ลิตร
วิธีการใช้
เทน้ำสะอาด20ลิตรลงในถังฉีดพ่นใช้สารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์ 4-6ซีซีผสมลงไปกวนให้เข้ากัน กรองเชื้อสดไตรโคเดอร์มา 200ซีซี (สำหรับครั้งแรก)ผสมและกวนให้เข้ากันโดยฉีดพ่น3ครั้งติดต่อกันห่างกัน3วัน
หรือ สำหรับเครื่องพ่นแรงดันสูง เตรียมน้ำในถังฉีดพ่นขนาด 200ลิตรใช้สารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์40-50ซีซี ผสมเข้าไปกวนให้เข้ากันตักเชื้อสดไตรโคเดอร์มา จำนวน 2ลิตร(สำหรับครั้งแรก) เทลงไปกวนให้เข้ากันอีกครั้ง โดยฉีดพ่น3ครั้งติดต่อกันห่างกัน3วัน
วิธีการผสม:เตรียมน้ำในถังฉีดพ่น20ลิตรผสมสารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์5ซีซีกวนให้เข้ากันตักหัวเชื้อ100-300ซีซีผสมลงไปกวนให้เข้ากันพร้อมฉีดพ่น หรือ เตรียมน้ำขนาด200ลิตรเติมสารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์50ซีซีกวนให้เข้ากันตักหัวเชื้อราแต่ล่ะชนิดล่ะ1ลิตรผสมลงไปกวนให้เข้ากันพร้อมฉีดพ่น
ในกรณีที่พบเชื้อโรคพืชระบาดให้ใช้อัตราส่วน เชื้อ 200ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
หลังฉีดพ่นไปแล้ว3-5วันสามารถเห็นผลงานได้ชัดเจน
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1.ในแปลงที่ไม่เคยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาให้ใช้ทุก 3วันติดต่อกันเป็นเวลา 3ครั้ง อัตราการใช้200ซีซีต่อน้ำ20ลิตร (หัวเชื้อ2ลิตร/น้ำ200ลิตร)จากนั้น ทุก 7 วัน 2 ครั้ง และทุก 10-15วัน ต่อครั้งเพื่อควบคุมศัตรูพืชต่อไปโดยอัตราการใช้เชื้อสด 100ซีซี/น้ำ20ลิตร (ใช้การฉีดป้องกันแมลงได้ 1ไร่)ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้เข้าสู่ระบบในสวน
2.ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นความชื้นมากกว่า 70% ควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นในบริเวณแปลงก่อนทุกครั้ง ควรรดน้ำในช่วง14.00-15.00 นาฬิกา ทิ้งไว้ประมาณ1ชั่วโมงเพื่อให้ใบพืชแห้งจึงฉีดพ่นได้ ในกรณีที่ใช้ถังผสม100-200ลิตรไม่ต้องรดน้ำก่อนฉีดก็ได้เนื่องจากปั๊มฉีดแรงดันสูงจะช่วยเพิ่มน้ำในปริมาณมากกว่าเครื่องสะพานหลัง
3.ใช้ผ้าปิดจมูกและถุงมือเวลาสัมผัสเชื้อราไตรโคเดอร์มาหรือเวลาฉีดพ่น ให้ปรับรูหัวฉีดให้เป็นละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วหลีกเลี่ยงลมกระโชกแรงเนื่องจากจะพัดพาละอองเชื้อออกนอกเป้าหมายพื้นที่แปลง
4.หัวเชื้อสดที่อยู่ในถังขยายเชื้อสามารถอยู่ได้นานหลายเดือนในกรณีที่มีสีอื่นๆขึ้นในถังขยายเชื้อเช่นสีเหลือง สีส้ม สีเขียวแสดงว่าเกิดการปนเปื้อนแนะนำให้เกษตรกรรีบใช้โดยผสมในอัตราเข้มข้นมากกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรเก็บเชื้อไว้ในแกลลอนที่มีฝาปิดจะดีกว่า
5. เชื้อที่ได้ ไม่แนะนำให้ขยายต่อไปอีก เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนของเชื้ออื่นๆและเชื้อรุ่นต่อไปจะตัวเล็กลงและไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
6. ในการขยายเชื้อควรทำในห้องที่สะอาดไม่มีลมพัดเพราะเชื้ออื่นๆอาจปนเปื้อนได้ ทุกขั้นตอนการทำใช้ถุงมือและผ้าปิดจมูกทุกครั้งที่สัมผัสเชื้อ
7. แปลงที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า4เดือน อัตราการใช้ลดลงเหลือ 50 ซีซีต่อน้ำ20ลิตรได้เพราะระบบเกษตรอินทรีย์ในสวนหรือแปลงผักจะเกิดระบบนิเวศขึ้นมาหลังจากไม่ใช้สารเคมีกำจัดโรคพืช ที่สำคัญไปกว่าคือตัวเกษตรกรเองและผู้บริโภคไม่ต้องเสี่ยงกับสารพิษในสารเคมี และราคาสินค้าจากสวนอินทรีย์ก็มีราคาดีมากเป็นที่ต้องการของตลาด
8.ไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานแทนสารจับใบเนื่องจากน้ำยาล้างจานมีสารกันบูดเป็นส่วนผสมอยู่ซึ่งจะทำให้การฉีดพ่นมักไม่ได้ผลดี ผนังเซลของเชื้อราถูกทำลาย หลีกเลี่ยงการใช้สารจับใบเคมีที่มีกรดละลายไขมันเข้มข้น(ผสมมากจะทำให้ใบพืชไหม้)
9..ในการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา ห้ามผสมสารเคมี ปุ๋ยเคมีทางใบหรือยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดเชื้อรา สามารถใช้ผสมร่วมกับฮอร์โมนพืชในกลุ่มออร์แกนิค เช่น สาหร่ายผง ฮิวมิค สารอินทรีย์สกัด กรดอะมิโนและสามารถผสมฉีดร่วมกับเชื้อสด แบคทีเรีย บีเอส หรือจุลินทรีย์กำจัดโรคพืชอื่นๆได้ ได้ แต่ตอนขยายเชื้อต้องแยกถัง และเมื่อผสมร่วมกันแล้วให้ฉีดพ่นให้หมดภายใน1ชั่วโมง
10.ในกรณีที่เกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์อื่นๆที่เป็นสปอร์ หรือเส้นใยในกลุ่มทำลายแมลงเช่น เชื้อรา5พิฆาต 5พลัง ให้ฉีดพ่นห่างจากพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา ไปแล้ว3-5วัน
11.ห้ามใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราหรือแบคทีเรียในแปลงผักหรือสวนที่ใช้สารชีวภัณฑ์เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้จะทำลายสารชีวภัณฑ์และเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชไปจนหมด
ปรึกษาปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ทำเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมีอันตราย Line id:@kaset หรือ คลิ๊ก
หน้าที่เข้าชม | 1,853,357 ครั้ง |
ผู้ชมทั้งหมด | 1,245,138 ครั้ง |
ร้านค้าอัพเดท | 22 เม.ย. 2561 |